การบริหารแบบมีส่วนร่วมมที่ส่งผลต่อการบริหารงานวิชาการของสถานศึกษาสังกัดกรุงเทพมหานคร

 

สิริกรทิติยวงษ์ และสายสุดาเตียเจริญ.(2557).การบริหารแบบมีส่วนร่วมมที่ส่งผลต่อการบริหารงานวิชาการของสถานศึกษาสังกัดกรุงเทพมหานคร.วารสารบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยศิลปากร. ปีที่ 5 ฉบับที่ 1 (กรกฎาคม - ธันวาคม 2557),หน้า188-198.

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อทราบ 1) การบริหารแบบมีส่วนร่วมของสถานศึกษา สังกัดกรุงเทพมหานคร 2) การบริหารงานวิชาการของสถานศึกษา สังกัดกรุงเทพมหานคร 3) การบริหารแบบมีส่วนร่วมที่ส่งผลต่อการบริหารงานวิชาการของสถานศึกษา สังกัดกรุงเทพมหานคร กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ ได้แก่ สถานศึกษาของรัฐที่จัดการเรียนการสอนในระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานที่สังกัดกรุงเทพมหานคร จำนวน 205 โรงเรียน โดยมีผู้ให้ข้อมูล โรงเรียนละ 3 คน ประกอบด้วย ผู้บริหารสถานศึกษาหรือรองฝ่ายวิชาการ หัวหน้ากลุ่มสาระการเรียนรู้และครูรวมทั้งสิ้น 615 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถามเกี่ยวกับการบริหารแบบมีส่วนร่วม ตามแนวคิดของเดวิส (Davis) กับการบริหารงานวิชาการตามแนวทางของหน่วยศึกษานิเทศก์สำนักการศึกษา กรุงเทพมหานคร สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่ามัชฌิมเลขคณิต ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณแบบขั้นตอน

ผลการวิจัยพบว่า

1. การบริหารแบบมีส่วนร่วมของสถานศึกษา สังกัดกรุงเทพมหานคร อยู่ในระดับมากทั้งในภาพรวมและรายด้าน

2. การบริหารงานวิชาการของสถานศึกษา สังกัดกรุงเทพมหานคร อยู่ในระดับมากทั้งในภาพรวมและรายด้าน

3. การบริหารแบบมีส่วนร่วม แบบคณะกรรมการบริหารระดับกลาง แบบปรึกษาหารือ และแบบให้ข้อเสนอแนะส่งผลต่อ การบริหารงานวิชาการของสถานศึกษา สังกัดกรุงเทพมหานคร อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05

 


ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

The role of networked learning in academics writing

The Effect of Digital Stories on Academic Achievement: A Meta-Analysis

การศึกษาการดำเนินงานการประกันคุณภาพภายในสถานศึกษาของ สถานศึกษาขั้นพื้นฐาน เขตพื้นที่การศึกษาสมุทรสาคร