ความต้องการจำเป็นของการบริหารวิชาการโรงเรียนเอกชนตามแนวคิดอัจฉริยภาพทางดิจิทัลของนักเรียนประถมศึกษา

พวงสุรีย์ วรคามิน, นันทรัตน์ เจริญกุล และ พฤทธิ์ ศิริบรรณพิทักษ์.(2563).ความต้องการจำเป็นของการบริหารวิชาการโรงเรียนเอกชนตามแนวคิดอัจฉริยภาพทางดิจิทัลของนักเรียนประถมศึกษา.วารสารบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยขอนแก่น.ปีที่ 16 ฉบับที่ 1 มกราคม–มิถุนายน 2563,หน้า 86-100.

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความต้องการจําเป็นของการบริหารวิชาการโรงเรียนเอกชนตามแนวคิดอัจฉริยภาพทางดิจิทัลของนักเรียนประถมศึกษากลุ่มตัวอย่างในการวิจัยได้แก่โรงเรียนสังกัดสํานักงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชนที่จัดการเรียนการสอนในระดับชั้นประถมศึกษาจํานวน 345โรงเรียน โดยการสุ่มแบบหลายขั้นตอน ผู้ให้ข้อมูลในแต่ละหน่วยตัวอย่าง ได้แก่ ผู้อํานวยการโรงเรียนหัวหน้าฝ่ายวิชาการ หัวหน้ากลุ่มสาระการเรียนรู้ และครูผู้สอนรวมทั้งสิ้น1,725คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยได้แก่แบบสอบถามการบริหารวิชาการโรงเรียนเอกชนตามแนวคิดอัจฉริยภาพทางดิจิทัลของนักเรียนประถมศึกษา มีลักษณะเป็นมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ โดยได้รับแบบสอบถามคืนมาคิดเป็นร้อยละ 79.42วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้การแจกแจงความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน โดยผลการวิจัยพบว่า โดยภาพรวม ลําดับความต้องการจําเป็นในการบริหารวิชาการตามแนวคิดอัจฉริยภาพทางดิจิทัลของนักเรียนประถมศึกษาที่มีลําดับความต้องการจําเป็นสูงสุด คือ ด้านการพัฒนาหลักสูตร รองลงมาคือ ด้านการวัดและประเมินผล  ด้านการจัดการเรียนการสอน  และด้านการพัฒนาสื่อ นวัตกรรม และ เทคโนโลยีเพื่อการศึกษา ตามลําดับ ผลประเมินความต้องการจําเป็นในการบริหารวิชาการโรงเรียนเอกชนตามแนวคิดอัจฉริยภาพทางดิจิทัลของนักเรียนประถมศึกษา เมื่อพิจารณาตามองค์ประกอบด้านอัจฉริยภาพทางดิจิทัลของนักเรียนประถมศึกษา รายด้าน พบว่า ความต้องการจําเป็นในการพัฒนาการบริหารวิชาการที่มีความต้องการจําเป็นตรงกัน 2 ด้าน เป็นอันดับแรก คือ ความปลอดภัยในโลกดิจิทัล  ความต้องการจําเป็นในการพัฒนาการ

 

 

 

 


ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

The role of networked learning in academics writing

The Effect of Digital Stories on Academic Achievement: A Meta-Analysis

การศึกษาการดำเนินงานการประกันคุณภาพภายในสถานศึกษาของ สถานศึกษาขั้นพื้นฐาน เขตพื้นที่การศึกษาสมุทรสาคร