การศึกษาความคิดเห็นของผู้บริหารและครูผู้สอนเกี่ยวกับการบริหารงานวิชาการของโรงเรียนขนาดเล็กในเขตพื้นที่การศึกษาแม่ฮ่องสอนเขต 1
ชื่อวิทยานิพนธ์ | การศึกษาความคิดเห็นของผู้บริหารและครูผู้สอนเกี่ยวกับการบริหารงานวิชาการของโรงเรียนขนาดเล็กในเขตพื้นที่การศึกษาแม่ฮ่องสอนเขต 1 A Study of the Opinions of Administrators and Teachers about Academic Administration in Small Schools in Maehongson Educational Service Area 1. |
ชื่อนิสิต | ประเวท ปิงชัย Pravet Pingchai |
ชื่ออาจารย์ที่ปรึกษา | ผศ. ประวัติ พื้นผาสุขผศ.ว่าที่ร้อยตรี สกล แก้วศิริ Asst.Prof. Prawat PuenphasookAsst.Prof. Sakol Kaewsiri |
ชื่อสถาบัน | มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่. บัณฑิตวิทยาลัย Chiang Mai Rajabhat University. Chiang Mai (Thailand). Graduate School. |
ระดับปริญญาและรายละเอียดสาขาวิชา | วิทยานิพนธ์มหาบัณฑิต. (การบริหารการศึกษา) Master. (Educational Administration) |
ปีที่จบการศึกษา | 2549 |
บทคัดย่อ(ไทย) | การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาและเปรียบเทียบความคิดเห็นของผู้บริหารและครูผู้สอนเกี่ยวกับการบริหารงานวิชาการของโรงเรียนขนาดเล็ก ในเขตพื้นที่การศึกษาแม่ฮ่องสอนเขต 1 โดยกลุ่มตัวอย่างประกอบด้วย ผู้บริหารสถานศึกษาของโรงเรียนขนาดเล็ก ในเขตพื้นที่ การศึกษาแม่ฮ่องสอนเขต 1 จำนวน 50 คน ครูผู้สอนของโรงเรียนขนาดเล็กในเขตพื้นที่การศึกษาแม่ฮ่องสอน เขต 1 จำนวน 70 คน รวมทั้งสิ้น 120 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถามตรวจสอบรายการ (Checklist) วิเคราะห์ข้อมูลโดยมาตราส่วนประมาณค่า (Rating Scale) หาค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และเปรียบเทียบความแตกต่างด้วยค่า ทีเทสต์ (t-test) ผลการวิจัย พบว่า ด้านการพัฒนาหลักสูตร ด้านการพัฒนากระบวนการเรียนรู้ ด้านการวัดผลประเมินผล ด้านการวิจัยเพื่อพัฒนาคุณภาพการศึกษา ด้านการพัฒนาสื่อ นวัตกรรมและเทคโนโลยีด้านการพัฒนาแหล่งเรียนรู้ ด้านการนิเทศการศึกษา ด้านการแนะแนวการศึกษา ด้านการประกันคุณภาพการศึกษา ด้านการส่งเสริมความรู้ทางวิชาการแก่ชุมชน ด้านการประสานความร่วมมือในการพัฒนาวิชาการกับสถานศึกษาและองค์กรอื่น และด้านการส่งเสริมและสนับสนุนแก่บุคคล ครอบครัว องค์กร หน่วยงานและสถาบันอื่น ผู้บริหารและครูผู้สอน มีความคิดเห็นระดับมากทุกข้อ เมื่อเปรียบเทียบความคิดเห็นของผู้บริหารและผู้สอนเกี่ยวกับการบริหารงานวิชาการพบว่า ด้านการพัฒนาหลักสูตร ด้านการวัดผลประเมินผล ด้านการวิจัยเพื่อพัฒนาคุณภาพการศึกษา ด้านการพัฒนาสื่อนวัตกรรมและเทคโนโลยี ด้านการพัฒนาแหล่งเรียนรู้ ด้านการนิเทศการศึกษา ด้านการแนะแนวการศึกษา ด้านการประกันคุณภาพการศึกษา ด้านการประสานความร่วมมือในการพัฒนาวิชาการกับสถานศึกษาอื่น ด้านการส่งเสริมและสนับสนุนแก่บุคคล ครอบครัว องค์กร หน่วยงานและสถาบันอื่นไม่มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ส่วนด้านการพัฒนากระบวนการเรียนรู้ ด้านการส่งเสริมความรู้ทางวิชาการแก่ชุมชน มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ |
บทคัดย่อ(English) | This research aims to study the opinions of school executive members and schoolteachers about small school academic administration in Mae Hong Son Education Area 1. Data was collected from 50 small school's executives in the Mae Hong Son Education Area I and 70 schoolteachers; altogether 120 sampled subjects. The tool used was a questionnaire and rating scale. Data was analyzed with frequency test, percentage, mean, standard deviation and compare T-test. The research outcome of the opinions showed that the following aspects were checked as High at every question by the executive members and schoolteachers: curriculum development, learning process development, evaluation, academic quality development research, innovative and technological medium development, learning source development, education supervision, education orientation, education quality assurance, community education promotion, academic co-ordination with other institutions and supports for individual, family, organization and other institutions. When the opinions of the executive members and schoolteachers on academic administration were compared, the result showed that the following aspects were significantly different: curriculum development, evaluation, academic quality development research, innovative and technological medium development, learning source development, education supervision, education orientation, education quality assurance, community education academic co-ordination with other institutions and supports for individual, family, organization and other institutions was not different. However,the opinion on learning process development, community education promotion, academic was different. |
ความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น